3 พฤษภาคม 2562

สรุปโดยเดลูต้า

  • นักธุรกิจชาวแคนาดา สร้างบ้านโดยใช้ขวดพลาสติก และจัดสร้าง “Plastic Bottle Village” ในเมืองโบคาส เดล โตโร ประเทศปานามา
  • “ปราสาทพลาสติก” (Plastic Castle) ใช้ขวดพลาสติก 40,000 ขวด ในการสร้าง เพื่อเป็นที่พักของนักท่องเที่ยว และเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมลพิษจากขวดพลาสติก
  • บ้านจากขวดพลาสติก สามารถทนต่อแผ่นดินไหว ช่วยให้บ้านเย็นโดยไม่ต้องเปิดแอร์ และช่วยประหยัดพลังงาน

blank

“โรเบิร์ต เบอซู” นักธุรกิจชาวแคนาดา ผู้ได้รับฉายาว่า “Plastic King” หนุ่มผู้ที่มีใจรักสิ่งแวดล้อม และมุ่งหวังที่จะปลูกฝังให้ทุกคนหันมาสนใจตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา เขาจึงคิดค้นไอเดียสุดเจ๋ง ที่จะเนรมิตบ้านจากขวดพลาสติกขึ้นมา เพื่อหวังลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกหนึ่งไอเดียรักษ์โลก ที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง

blank

blank

โรเบิร์ตได้นำขวดพลาสติกที่มีอยู่ทุกที่ในเมือง โบคาส เดล โตโร (Bocas del Toro) ประเทศปานามา กลับมาใช้ใหม่ โดยใช้เป็นวัสดุส่วนหนึ่งของการสร้างบ้าน โดยใช้แทน “อิฐ” นั่นเอง เป้าหมายของเขา คือการสร้าง “หมู่บ้านขวดพลาสติก” เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกจำนวนมากที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เขากล่าวว่า “ผมต้องการให้โลกได้ตระหนักว่า เราสามารถนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ได้ในหลายๆ ช่องทาง เช่น ฉนวนอาคาร ที่พักพิงชั่วคราวหลังเกิดภัยพิบัติ ฟาร์มสัตว์ สระว่ายน้ำ ถังเก็บน้ำ ถังบำบัดน้ำเสีย เส้นทางระบายน้ำในการเกษตร งานก่อสร้างคลังสินค้า โรงนา และถนน” ซึ่งการสร้างหมู่บ้านขวดพลาสติกของโรเบิร์ตไม่ใช่สิ่งที่เขาสนใจเพียงอย่างเดียว เพราะเป้าหมายหลักของเขาก็คือการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติก

blank

โรเบิร์ตได้ลงทุนซื้อที่ดินเปล่าบนเกาะแห่งหนึ่งมาในราคา 19,000 เหรียญ หรือประมาณ 6 แสนบาท เพื่อใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างบ้านจากขวดพลาสติก และได้ตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “Plastic Bottle Village” ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ในเมือง โบคาส เดล โตโร บนเกาะโคโลญ ของประเทศปานามา โดยบ้านแต่หลังในหมู่บ้านแห่งนี้ สร้างขึ้นจากขวดน้ำพลาสติกกว่า 14,000 ขวด ต่อการสร้างบ้าน 1 หลังที่มีขนาด 100 ตารางเมตร ซึ่งถูกออกแบบให้ดูทันสมัยและอยู่อาศัยได้จริง นอกจากนั้นยังสามารถทนต่อแผ่นดินไหว ป้องกันอุณหภูมิร้อนจากภายนอกได้โดยไม่จำเป็นต้องติดเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากอุณหภูมิของผนังด้านในจะเย็นกว่าด้านนอก ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

blank

นอกจากนั้นโรเบิร์ตยังได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมา www.plasticbottlevillage-theline.com โดยมีความตั้งใจที่จะเผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ขยะพลาสติกทั่วโลก และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา พบว่า โลกกำลังเผชิญกับผลกระทบที่เกิดจากมลพิษของขยะพลาสติกอยู่ ณ ขณะนี้ และส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลานาน ทำให้เขาเป็นคนต่างชาติคนแรกที่ชนะรางวัล Environmental Excellence Award ในปานามา

blank

สิ่งที่น่าสนใจมากไปกว่านั้น นอกจากบ้านแบบทั่วไปแล้ว โรเบิร์ตยังสร้าง “ปราสาทพลาสติก” (Plastic Castle) ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นโดยใช้ขวดพลาสติก 40,000 ขวด โดยเริ่มสร้างในเดือนกรกฎาคม 2559 และใช้เวลาในการสร้างประมาณ 2 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่พักของนักท่องเที่ยว และเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมลพิษขวดพลาสติกและวิธีการรียูสอย่างเหมาะสมด้วย โดยปราสาทจะมีทั้งหมด 4 ชั้น ใช้ขวดพลาสติกทั้งหมดประมาณ 40,000 ขวด ภายในมีห้อง Royal Suite 1 ห้อง ห้องสำหรับแขก 2 ห้อง บาร์ ห้องกินข้าว และจุดชมวิวชั้นบนอีกอย่างละห้อง ซึ่งสวยงามและน่าอยู่มากๆเลยทีเดียว นอกจากปราสาท ภายในหมู่บ้านขวดพลาสติกแห่งนี้ยังมี “เรือนจำขวดพลาสติก” ที่สามารถเข้าเยี่ยมชมพร้อมกับได้ความรู้เรื่องผลกระทบอันร้ายแรงของพลาสติกที่มีต่อโลกใบนี้

blank

blank

ทุกสิ่งที่ถูกเนรมิตขึ้นมาจนเกิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า “Plastic Bottle Village” สะท้อนให้เห็นว่าทุกวันนี้โลกของเรากำลังประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เราจึงควรตระหนักและหันมาใส่ใจ เพื่อให้โลกของเราจะได้อยู่กับลูกๆหลานๆไปนานๆ เช่นเดียววิสัยทัศน์ของโรเบิร์ตทีเขาหวังให้มันเป็นเช่นนั้น

blank

ในหลายๆประเทศจากทั่วโลกได้เริ่มตระหนักถึงผลกระทบกระเทือนที่เกิดจากขวดพลาสติก และภัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่นว่า ประเทศบราซิล ที่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากขวดพลาสติก ได้มีการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิล สำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะมีการรณรงค์ในเรื่องขยะพลาสติก แต่ยังอยู่ในระดับน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ในประเทศไทยพบว่า ปริมาณขยะพลาสติกในประเทศไทย คิดเป็น 20% หรือประมาณ 2 ล้านตันต่อปี จากปริมาณขยะทั้งหมด ซึ่งขยะพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายเฉลี่ยประมาณ 450 ปีเลยทีเดียว ดังนั้น เราจึงควรที่จะช่วยกันลดปริมาณการใช้ขยะพลาสติก หรือนำขยะพลาสติกมาสร้างสรรค์เป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใหม่ ซึ่งถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปริมาณขยะได้นั่นเอง

Source : boredpanda , plasticbottlevillage-theline , bikupanama

Categories: DIYPublished On: 3 พฤษภาคม 2562

สรุปโดยเดลูต้า

  • นักธุรกิจชาวแคนาดา สร้างบ้านโดยใช้ขวดพลาสติก และจัดสร้าง “Plastic Bottle Village” ในเมืองโบคาส เดล โตโร ประเทศปานามา
  • “ปราสาทพลาสติก” (Plastic Castle) ใช้ขวดพลาสติก 40,000 ขวด ในการสร้าง เพื่อเป็นที่พักของนักท่องเที่ยว และเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมลพิษจากขวดพลาสติก
  • บ้านจากขวดพลาสติก สามารถทนต่อแผ่นดินไหว ช่วยให้บ้านเย็นโดยไม่ต้องเปิดแอร์ และช่วยประหยัดพลังงาน

blank

“โรเบิร์ต เบอซู” นักธุรกิจชาวแคนาดา ผู้ได้รับฉายาว่า “Plastic King” หนุ่มผู้ที่มีใจรักสิ่งแวดล้อม และมุ่งหวังที่จะปลูกฝังให้ทุกคนหันมาสนใจตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา เขาจึงคิดค้นไอเดียสุดเจ๋ง ที่จะเนรมิตบ้านจากขวดพลาสติกขึ้นมา เพื่อหวังลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกหนึ่งไอเดียรักษ์โลก ที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง

blank

blank

โรเบิร์ตได้นำขวดพลาสติกที่มีอยู่ทุกที่ในเมือง โบคาส เดล โตโร (Bocas del Toro) ประเทศปานามา กลับมาใช้ใหม่ โดยใช้เป็นวัสดุส่วนหนึ่งของการสร้างบ้าน โดยใช้แทน “อิฐ” นั่นเอง เป้าหมายของเขา คือการสร้าง “หมู่บ้านขวดพลาสติก” เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกจำนวนมากที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เขากล่าวว่า “ผมต้องการให้โลกได้ตระหนักว่า เราสามารถนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ได้ในหลายๆ ช่องทาง เช่น ฉนวนอาคาร ที่พักพิงชั่วคราวหลังเกิดภัยพิบัติ ฟาร์มสัตว์ สระว่ายน้ำ ถังเก็บน้ำ ถังบำบัดน้ำเสีย เส้นทางระบายน้ำในการเกษตร งานก่อสร้างคลังสินค้า โรงนา และถนน” ซึ่งการสร้างหมู่บ้านขวดพลาสติกของโรเบิร์ตไม่ใช่สิ่งที่เขาสนใจเพียงอย่างเดียว เพราะเป้าหมายหลักของเขาก็คือการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติก

blank

โรเบิร์ตได้ลงทุนซื้อที่ดินเปล่าบนเกาะแห่งหนึ่งมาในราคา 19,000 เหรียญ หรือประมาณ 6 แสนบาท เพื่อใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างบ้านจากขวดพลาสติก และได้ตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “Plastic Bottle Village” ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ในเมือง โบคาส เดล โตโร บนเกาะโคโลญ ของประเทศปานามา โดยบ้านแต่หลังในหมู่บ้านแห่งนี้ สร้างขึ้นจากขวดน้ำพลาสติกกว่า 14,000 ขวด ต่อการสร้างบ้าน 1 หลังที่มีขนาด 100 ตารางเมตร ซึ่งถูกออกแบบให้ดูทันสมัยและอยู่อาศัยได้จริง นอกจากนั้นยังสามารถทนต่อแผ่นดินไหว ป้องกันอุณหภูมิร้อนจากภายนอกได้โดยไม่จำเป็นต้องติดเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากอุณหภูมิของผนังด้านในจะเย็นกว่าด้านนอก ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

blank

นอกจากนั้นโรเบิร์ตยังได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมา www.plasticbottlevillage-theline.com โดยมีความตั้งใจที่จะเผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ขยะพลาสติกทั่วโลก และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา พบว่า โลกกำลังเผชิญกับผลกระทบที่เกิดจากมลพิษของขยะพลาสติกอยู่ ณ ขณะนี้ และส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลานาน ทำให้เขาเป็นคนต่างชาติคนแรกที่ชนะรางวัล Environmental Excellence Award ในปานามา

blank

สิ่งที่น่าสนใจมากไปกว่านั้น นอกจากบ้านแบบทั่วไปแล้ว โรเบิร์ตยังสร้าง “ปราสาทพลาสติก” (Plastic Castle) ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นโดยใช้ขวดพลาสติก 40,000 ขวด โดยเริ่มสร้างในเดือนกรกฎาคม 2559 และใช้เวลาในการสร้างประมาณ 2 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่พักของนักท่องเที่ยว และเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมลพิษขวดพลาสติกและวิธีการรียูสอย่างเหมาะสมด้วย โดยปราสาทจะมีทั้งหมด 4 ชั้น ใช้ขวดพลาสติกทั้งหมดประมาณ 40,000 ขวด ภายในมีห้อง Royal Suite 1 ห้อง ห้องสำหรับแขก 2 ห้อง บาร์ ห้องกินข้าว และจุดชมวิวชั้นบนอีกอย่างละห้อง ซึ่งสวยงามและน่าอยู่มากๆเลยทีเดียว นอกจากปราสาท ภายในหมู่บ้านขวดพลาสติกแห่งนี้ยังมี “เรือนจำขวดพลาสติก” ที่สามารถเข้าเยี่ยมชมพร้อมกับได้ความรู้เรื่องผลกระทบอันร้ายแรงของพลาสติกที่มีต่อโลกใบนี้

blank

blank

ทุกสิ่งที่ถูกเนรมิตขึ้นมาจนเกิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า “Plastic Bottle Village” สะท้อนให้เห็นว่าทุกวันนี้โลกของเรากำลังประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เราจึงควรตระหนักและหันมาใส่ใจ เพื่อให้โลกของเราจะได้อยู่กับลูกๆหลานๆไปนานๆ เช่นเดียววิสัยทัศน์ของโรเบิร์ตทีเขาหวังให้มันเป็นเช่นนั้น

blank

ในหลายๆประเทศจากทั่วโลกได้เริ่มตระหนักถึงผลกระทบกระเทือนที่เกิดจากขวดพลาสติก และภัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่นว่า ประเทศบราซิล ที่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากขวดพลาสติก ได้มีการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิล สำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะมีการรณรงค์ในเรื่องขยะพลาสติก แต่ยังอยู่ในระดับน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ในประเทศไทยพบว่า ปริมาณขยะพลาสติกในประเทศไทย คิดเป็น 20% หรือประมาณ 2 ล้านตันต่อปี จากปริมาณขยะทั้งหมด ซึ่งขยะพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายเฉลี่ยประมาณ 450 ปีเลยทีเดียว ดังนั้น เราจึงควรที่จะช่วยกันลดปริมาณการใช้ขยะพลาสติก หรือนำขยะพลาสติกมาสร้างสรรค์เป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใหม่ ซึ่งถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปริมาณขยะได้นั่นเอง

Source : boredpanda , plasticbottlevillage-theline , bikupanama

ชอบบทความนี้แชร์เลย